คอนกรีตกันซึมซีแพค

คอนกรีตกันซึมซีแพค

คอนกรีตคุณภาพสูง สำหรับงานโครงสร้างทั่วไป ที่ได้รับการออกแบบส่วนผสมด้วยทีมวิศวกรซีแพค เริ่มจากการคัดสรรวัตถุดิบและควบคุมคุณภาพการผลิตในทุกขั้นตอน พร้อมการทดสอบคุณภาพอย่างเข้มงวด จึงมั่นใจได้ว่าทุกโครงการก่อสร้างจะได้รับคอนกรีตที่มีคุณภาพส่งตรงจากซีแพคถึงมือคุณ

รายละเอียด

คำตอบของโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับความชื้น ที่ซีแพควิจัยและพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีคุณสมบัติกันซึมอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องใส่น้ำยากันซึมเพิ่มที่หน้างาน และมีความทึบน้ำสูง โดยได้รับการออกแบบให้ถูกต้องตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้าง สำหรับโครงสร้างคอนกรีต (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย) จึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสน้ำ หรือความชื้นตลอดเวลา เช่น สระว่ายน้ำ ถังเก็บน้ำ พื้นห้องน้ำ ฐานราก* คานคอดิน

*กรณีฐานรากที่มีความหนา มากกว่า 50 ซม. ควรพิจารณาใช้คอนกรีตความร้อนต่ำซีแพค (ตามมาตรฐาน ACI 207.1R-05 )

เหมาะสำหรับงานประเภท

โครงสร้างคอนกรีตที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกักเก็บน้ำ หรือจำเป็นต้องสัมผัสน้ำหรือความชื้นโดยตรง เช่น สระว่ายน้ำ ถังเก็บน้ำ พื้นห้องน้ำ รวมทั้งโครงสร้างที่ต้องสัมผัสน้ำใต้ดิน เช่น ฐานราก คานคอดิน ห้องใต้ดิน หรืออุโมงค์

คุณสมบัติ

  • มีความทึบน้ำ ต้านทานการซึมผ่านของน้ำได้ดี ป้องกันความชื้นที่จะเข้ามาทำปฎิกิริยาต่อเหล็กเสริม จนทำให้เกิดสนิม และเกิดความเสียหายต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง

คำแนะนำในการใช้งาน และข้อควรระวัง

  • การเตรียมการที่ถูกต้องก่อนการเทคอนกรีต เช่น รอยต่อของโครงสร้าง การใส่อุปกรณ์ Water Stop ตำแหน่งการวางเหล็กเสริม ระยะหุ้มเหล็กเสริม การทาน้ำยาไม้แบบ กรณีที่เป็นการเทโครงสร้างในส่วนของพื้นดาดฟ้า ควรเลือกใช้ คอนกรีตพื้นดาดฟ้าซีแพค ซึ่งมีการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานโดยเฉพาะ โดยมีคุณสมบัติ กันซึม และป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่มี ลมแรง และ อุณหภูมิสูงจากแสงแดด ในช่วงที่คอนกรีตยังไม่แข็งตัว (Plastic Shrinkage Crack)
  • การเทคอนกรีตที่ถูกวิธี การเทคอนกรีตโดยป้องกันไม่ให้เนื้อคอนกรีตแยกตัว เครื่องมือที่จะใช้เทหรือลำเลียงคอนกรีตที่เหมาะสมกับสภาพหน่วยงานหรือโครงสร้าง เช่น ราง เครน ปั๊ม และการกำหนดระยะตกของคอนกรีต (Free Fall) สำหรับการเทโครงสร้างสูงๆ เพื่อป้องกันคอนกรีตเกิดการแยกตัว หรือตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้าง สำหรับโครงสร้างคอนกรีต (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย)
  • การอัดคอนกรีตให้แน่นในแบบหล่อ โดยการใช้เครื่องจี้เขย่าและวิธีที่ถูกต้องในการจี้เขย่า เช่น ระยะห่างของการจุ่มหัวจี้เขย่า ระยะความลึกของการจุ่มหัวจี้เขย่า แนวการวางหัวจี้เขย่า หรือตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้าง สำหรับโครงสร้างคอนกรีต (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย)
  • การบ่มคอนกรีต ควรทำการบ่มชื้นคอนกรีตทันที หลังจากที่คอนกรีตเริ่มเซ็ตตัว อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การขังน้ำ ใช้น้ำยาสำหรับบ่มคอนกรีต ใช้กระสอบเปียกคลุม แล้วรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา หรือฉีดด้วยน้ำสะอาดให้ชุ่มตลอดเวลา หรือตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้าง สำหรับโครงสร้างคอนกรีต (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย)
  • โครงสร้างและอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างพิเศษที่อาจจะต้องใช้วิธีการบ่มที่เหมาะสมอื่นๆ นอกเหนือจากวิธีนี้
  • การป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีต จากการหดตัวแบบแห้ง (Drying Shrinkage Crack) ซึ่งคอนกรีตโดยทั่วไปหลังจากแข็งตัว จะมีการหดตัวเกิดขึ้นจากการที่น้ำในคอนกรีตระเหยไป ทำให้เกิดการยึดรั้งในโครงสร้างและเกิดการแตกร้าวตามมาได้ ดังนั้นโครงสร้างที่เทลักษณะเป็นแนวยาวมากๆ เช่น ผนัง กำแพง แผ่นพื้น ควรพิจารณาการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวของคอนกรีตประกอบด้วย ซึ่งการออกแบบเพื่อควบคุมการแตกร้าวนั้น ควรต้องทำการออกแบบโดยวิศวกรผู้ชำนาญเฉพาะด้าน

ดาวน์โหลดเอกสาร

สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบสินค้าได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้